แชร์

5 เหตุผลที่ต้องมีเครื่องวัดความดันไว้ใช้ที่บ้าน

อัพเดทล่าสุด: 5 ธ.ค. 2024
79 ผู้เข้าชม

สมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลก (World Hypertension League) ได้กำหนดให้วันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันความดันโลหิตโลก (World Hypertension Day) โดยในปี 2567 นี้ ได้มีการกำหนดประเด็นการรณรงค์ไว้ว่า Measure Your Blood Pressure Accurately, Control It, Live Longer : วัดความดันอย่างไร สูงเกินไปคุมให้ดี ช่วยยืดชีวีให้ยืนยาว ซึ่งมุ่งเน้นให้ประชาชนสามารถวัดและแปลผลความดันโลหิตได้อย่างถูกต้อง พร้อมทราบถึงวิธีปฏิบัติตัวเมื่อป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง

กรมควบคุมโรคและกระทรวงสาธารณสุข จึงได้ เน้นย้ำให้ประชาชนวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งต้องสามารถแปลค่าความดันโลหิตของตนเองได้ ดังนั้น การเลือกมองหา เครื่องวัดความดันโลหิต ที่สามารถวัดด้วยตนเองที่บ้านได้ จึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างมากโดยเฉพาะบ้านที่มีผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง

5 เหตุผลที่ต้องมีเครื่องวัดความดันไว้ใช้ที่บ้าน


1. ลดอัตราการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง



ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงบางรายอาจมีการควบคุมความดันได้ไม่ดีนัก ทานยาไม่สม่ำเสมอ หรือเลือกทานยาเฉพาะก่อนวัดนัดพบแพทย์เท่านั้น ทำให้เมื่อมาวัดค่าความดันที่โรงพยาบาลจึงพบผลค่าความดันเป็นปกติ แต่ความจริงแล้วอาจมีภาวะความดันโลหิตสูงแอบซ่อนอยู่ก็เป็นได้ รวมทั้งผู้ป่วยบางรายก็อาจมีภาวะ White Coat Hypertension ทำให้ไม่ได้ค่าความดันโลหิตที่แท้จริง ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายและส่งผลต่อการวินิจฉัยได้ไม่แม่นยำหรืออาจไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ดังนั้น การมีเครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้าน จะทำให้สามารถทราบผลค่าความดันแท้จริงในแต่ละวันได้ดีกว่าวัดที่โรงพยาบาลอย่างเดียว เพราะสามารถใช้ประกอบการรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้ดีขึ้น ปรับยาได้อย่างเหมาะสม และลดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาลดความดันโลหิตสูง


2. ช่วยให้ติดตามและทราบค่าความดันโลหิตได้แบบ Real Time



การมีเครื่องวัดความดันไว้ใช้ที่บ้านสามารถวัดความดันได้เองทุกวัน ทำให้ทราบถึงการแปรปรวนของค่าความดันโลหิตในแต่ละช่วงเวลาต่าง ๆ ได้ สามารถประเมินและควบคุมระดับความดันโลหิตของตนเองในเบื้องต้นได้


3. ช่วยตรวจและติดตามอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติได้



เครื่องวัดความดันโลหิตไม่เพียงแต่จะแสดงค่าของเลขตัวบน (SYS ค่าความดันขณะหัวใจบีบตัว) และ เลขตัวล่าง (DIA ค่าความดันขณะหัวใจคลายตัว) เท่านั้น แต่ยังแสดงค่าของเลขอัตราการเต้นของหัวใจ (Pul) อีกด้วย ซึ่งค่าที่เหมาะสมของอัตราการเต้นของหัวใจคือ 60-100 ครั้ง/ นาที


4. มีฟังก์ชันการทำงานที่ใช้งานง่ายและสะดวก



เครื่องวัดความดันแบบดิจิตอลมีฟังก์ชันการทำงานหลากหลาย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานมากที่สุด สามารถอ่านค่าความดันได้อย่างง่าย บอกค่าเฉลี่ยการวัด มีระบบบันทึกข้อมูลการวัดย้อนหลังได้ และบางรุ่นสามารถเชื่อมต่อกับแอพลิเคชันสุขภาพได้อีกด้วย


5. ราคาจับต้องได้



ปัจจุบันมีเครื่องวัดความดันให้เลือกซื้อหลายรุ่นหลายราคา มีทั้งแบบวัดที่ต้นแขนและข้อมือ ตั้งหลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่น สามารถพิจารณาจากฟังก์ชันและความจำเป็นในการใช้งาน เพื่อให้เหมาะสมกับงบประมาณที่ตั้งไว้ เรียกได้ว่าเป็นการลงทุนเพื่อสุขภาพที่คุ้มค่า


โรคความดันโลหิตสูงถือเป็น ฆาตกรซุ่มเงียบ ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น หากไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ในระยะยาว จะส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจขาดเลือด และโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตได้ การเลือกซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตดี ๆ สักเครื่องไว้ติดบ้าน ก็ถือเป็นการลงทุนที่ดีเลยทีเดียว


บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำไม? ความดันสูงทุกทีที่ไปโรงพยาบาล แต่วัดที่บ้านแล้วปกติ
หลายคนอาจเคยเจอปัญหาค่าความดันโลหิตสูงทุกครั้งที่ไปหาหมอ แต่เมื่อวัดเองที่บ้านแล้วค่าความดันโลหิตกลับปกติ บางรายอาจตรวจพบได้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงจริง ๆ แต่บางรายอาจเป็นเพียงแค่ภาวะที่เรียกว่า White Coat Hypertension
10 ธ.ค. 2024
โรคความดันโลหิตสูง "ฆาตกรซุ่มเงียบ"
เป็นที่น่าตกใจจากสถานการณ์ความดันโลหิตสูงในประเทศไทย ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากถึง 14 ล้านคน แต่ขึ้นทะเบียนรักษาเพียง 7 ล้านคนเท่านั้น ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาหรือไม่ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม อาจส่งผลให้พิการและเสียชีวิตได้
4 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy