แชร์

เมื่อในเลือดมีออกซิเจนต่ำ หรือ "ภาวะพร่องออกซิเจน"

อัพเดทล่าสุด: 20 มี.ค. 2025
44 ผู้เข้าชม

ภาวะพร่องออกซิเจนคืออะไร ?


ภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoemia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีปริมาณหรือระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ ส่งผลให้เลือดไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ (Hypoxia) มีผลต่อการทำงานของร่างกายและสมองบกพร่อง ขาดการควบคุม และจะแสดงอาการที่ผิดปกติต่าง ๆ ออกมา เช่น หายใจไม่อิ่ม ปวดศีรษะ รู้สึกสับสนมึนงง ไอ หัวใจเต้นเร็ว เล็บหรือริมฝีปากเป็นสีม่วงคล้ำ เป็นต้น ซึ่งสาเหตุการเกิดของภาวะพร่องออกซิเจนสามารถแบ่งออกได้ 4 ชนิด ได้แก่

1. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย (Hypoxic / Hypoxia) พบได้บ่อยที่สุดเกิดขึ้นเนื่องจาก
  • ความกดดันของออกซิเจนในถุงลมปอดลดลง มักเกิดขึ้นจากการขึ้นไปอยู่ในที่สูง ซึ่งความกด
  • บรรยากาศลดลงทำให้ความกดดันย่อยของออกซิเจนลดลงด้วย จึงอาจเรียกภาวะพร่องออกซิเจนแบบนี้ว่า ภาวะพร่องออกซิเจนจากระยะสูง (Altitude Hypoxia) นอกจากนี้แล้วอาจเกิดจากการกลั้นหายใจโรคหอบหืดอากาศที่หายใจมีก๊าซอื่นปะปน เป็นต้น
  • พื้นที่ซึ่งใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างปอดกับกระแสโลหิตลดลง เช่น ปอดบวม ปอดแฟบ มีลมในช่องปอด จมน้ำ
  • ออกซิเจนไม่สามารถซึมผ่านจากถุงลมปอดไปสู่กระแสโลหิตได้สะดวก เช่น ปอดบวม จมน้ำ โรค เยื่อไฮยาลีน เป็นต้น

2. ภาวะพร่องออกซิเจนจากเลือด (Hypemic Hypoxia) ที่เกิดจากความบกพร่องในการนำพาออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น จำนวนเม็ดเลือดแดงในกระแสโลหิตลดลงจากโรคโลหิตจาง หรือการเสียเลือด ภาวะผิดปกติของสารเฮโมโกลบิน (Hemoglobin) ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับออกซิเจนได้ตามปกติ หรือร่างกายได้รับยาหรือสารพิษบางอย่างที่ทำให้สารเฮโมโกลบินหรือเม็ดเลือดแดงเกิดความบกพร่องในการจับออกซิเจน เช่น ยากลุ่มซัลฟานิลาไมด์ (Sulfanilamides) สารไซยาไนด์ (Cyanide) หรือก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์(Carbon Monoxide) เป็นต้น

3. ภาวะพร่องออกซิเจนจากการคั่งของกระแสโลหิต (Stagnant Hypoxia) ที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องในการไหลเวียนของกระแสโลหิต เช่น การลดลงของปริมาณแรงดันเลือดจากหัวใจ เนื่องจากโรคหัวใจล้มเหลว

4. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากภาวะเป็นพิษของเซลล์(Histotoxic Hypoxia) เกิดขึ้นจากการที่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายไม่สามารถนำเอาออกซิเจนไปใช้ได้เนื่องจากได้รับสารพิษ เช่น แอลกอฮอล์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ สารไซยาไนด์ เป็นต้น


อาการภาวะพร่องออกซิเจน


  • ผิวหนังเย็นซีด หรือเขียวคล้ำ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ในระยะแรก
  • กระสับกระส่าย สับสน มึนศีรษะ ปวดศีรษะ เพ้อ 
  • หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่อิ่ม หายใจแล้วมีเสียง
  • ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เจ็บหน้าอก
  • หากปล่อยไว้อาจเกิดอาการชัก หมดสติ หัวใจหยุดเต้น โคม่าและเสียชีวิตได้ในที่สุด


ภาวะพร่องออกซิเจนนับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เนื่องจากมักจะเกิดอาการขึ้นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่รู้สึกตัวจนหมดสติไปในที่สุด และในผู้ป่วยบางรายอาจไม่แสดงอาการใด ๆ ตามข้างต้นก็เป็นได้ อาจทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบได้ว่าร่างกายกำลังเข้าสู่ภาวะพร่องออกซิเจน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่มีการพักฟื้นรักษาตัวที่บ้าน หรือไม่ได้ทำการรักษาตัวในโรงพยาบาลที่มีบุคลากรทางการแพทย์ดูแลใกล้ชิด แนะนำว่าจำเป็นจะต้องมี เครื่องตรวจออกซิเจนปลายนิ้ว ไว้เพื่อสามารถตรวจสอบระดับออกซิเจนในเลือด เพื่อเฝ้าติดตามและประเมินอาการในเบื้องต้น หากพบความผิดปกติของระดับออกซิเจนในเลือดที่ต่ำกว่า 90% จะได้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาในทันที




อ่านบทความเพิ่มเติม : เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว จำเป็นต้องมีหรือไม่ ?


กลุ่มที่มีความเสี่ยงภาวะพร่องออกซิเจน

  • ผู้ที่อยู่ในบริเวณที่สูงหรือที่มีออกซิเจนในอากาศเบาบาง เช่น ภูเขาสูง สถานที่แออัด เดินทางโดยเครื่องบิน
  • ผู้ที่มีปอดทำงานผิดปกติ เช่น ปอดอักเสบ ปอดติดเชื้อ โรคหอบหืด หลอดลมตีบ
  • ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น หัวใจวาย หัวใจเต้นเร็ว หัวใจขาดเลือด
  • ผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง
  • ผู้ที่ได้รับยาหรือสารพิษที่ออกฤทธิ์กดการหายใจ

สรุป

ทุกระบบร่างกายของเราจำเป็นจะต้องใช้ออกซิเจนในการทำงาน ซึ่งจะมีเลือดเป็นตัวนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของระบบในร่างกาย ดังนั้นหากออกซิเจนในเลือดมีน้อยหรือต่ำกว่าปกติ ก็จะแสดงอาการที่ผิดปกติ หรือมีอาการที่รุนแรงถึงขั้นโคม่าและเสียชีวิตได้




ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : สิรินาถ เรืองเผ่าพันธุ์ / POBPAD / หมอหมีเม้าท์มอย

บทความที่เกี่ยวข้อง
เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว จำเป็นต้องมีหรือไม่ ?
ในช่วงการระบาดอย่างหนักของโรคโควิด-19 เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วนับว่าเป็นไอเทมสำคัญที่หลายคนให้ความสนใจอย่างมาก แพทย์หลายท่านมีการออกมาแนะนำพูดถึงการใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วเพื่อติดตามอาการโดยเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 ปัจจุบันนี้ถึงแม้สถานการณ์โควิด-19 จะดีขึ้นและไม่รุนแรงเหมือนเมื่อก่อนแล้ว หลายคนมีคำถามว่าแล้วเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วยังจำเป็นต้องมีหรือไม่ ?
19 มี.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy